watrajasit 5

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

สมเด็จพระสังฆราช(สุก)

สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ อยู่ใน ตำแหน่ง ๒ พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา
พระองค์ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๒๗๖ พระชนกพระนามว่า เส็ง พระชนนีพระนามว่า จีบ ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อเจริญวัยพระองค์ได้ทรงบรรพชากับท่านขรัวตาทอง ที่วัดท่าหอย โดยพระองค์ท่านได้ทรงศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นประมาณ ๕ พรรษา ทรงลาสิกขาออกมาเพื่ออุปัฏฐากพระชนกพระชนนี
เมื่อปี พ.ศ. ๒๒๙๗ พระชนมายุครบบวช พระองค์ได้ทรงอุปสมบทที่วัดโรงช้าง โดยมีพระครูรักขิตญาณ(สี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับการถวายพระนามว่า พระปุณณะปัญญาภิกขุ ที่นี่พระองค์ได้ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาฯ กับพระอาจารย์ใหญ่ คือ พระพนรัต (แก้ว) วัดป่าแก้ว และได้ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชาวาสจนมีความรู้แตกฉาน ล่วงไป ๗ พรรษาท่านได้รับนิมนต์กลับมาจำพรรษาที่วัดท่าหอย และได้ทรงรับเป็นพระอธิการวัดท่าหอยในปีนั้นเอง
เวลาล่วงไป ๒ แผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๖ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดให้นิมนต์พระองค์ท่านมายังกรุงเทพฯ ด้วยพระองค์ทรงเป็นเคยพระอาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ตั้งแต่ยังอยู่ที่วัดท่าหอย ได้จำพรรษาที่วัดพลับ(วัดราชสิทธาราม) ซึ่งเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรีมาแต่เดิม โดยให้เป็นที่พระญาณสังวรเถร
สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นอันมากของพระบรมราชวงศ์มาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๒ ปรากฏนามพระญาณสังวรเถร เป็นพระกรรมวาจาจารย์แทบทุกพระองค์ ทำให้การศึกษาพระกรรมฐานฯ ในยุคของพระองค์ท่านรุ่งเรืองมาก พระองค์จึงได้ทรงวางรากฐานการศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ไว้อย่างมั่นคงเป็นปึกแผ่นสืบมา
พระองค์ได้รับ สถาปนาเป็นสมเด็จพระญาณสังวร เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชในอีก ๔ ปีต่อมา คือในปี พ.ศ.๒๓๖๓ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๑ ปีกับ ๑๐ เดือน ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๖๕ มีพระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ หลังพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่งบริเวณ ด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการะบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้.  ครั้งหนึ่ง
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสีท่านได้ร่ำเรียนจนสำเร็จวิปัสสนาญาณกรรมฐานชั้นสูง ท่านก็ได้มีอาจารย์อยู่คนหนึ่ง อาจารย์คนนั้นท่านผู้อ่านอาจจะนึกเดาถูก นั่นคือ สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เหตุที่เรียกว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน เพราะมีไก่ป่า ท่านสังฆราชเอามาเลี้ยงจนเชื่องเล่นกันได้ จึงได้ฉายาว่าสังฆราชสุกไก่เถื่อน พระสังฆราชนั้นเป็นอาจารย์ของสมเด็จโต พร่ำสอนวิชาต่าง ๆ ให้จนสมเด็จโตเก่งแตกฉานทุกอย่าง สม้ยนั้นสมเด็จพระสังฉราชสุกไก่เถื่อนได้สร้างพระสมเด็จวัดพลับขึ้นมาปลุก เสกเอง ซึ่งสมเด็จโตก็รู้ จากนั้นมาไม่นาน ท่านสมเด็จโตก็ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆัง
จากการที่ได้รับยศเป็นถึงสมเด็จนั้น ท่านจำไจยอมรับ เพราะตอนนั้นในหลวงเป็นเจ้าฟ้า ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฟ้านั้นปกคลุมพื้นดินไปหมด จะหนีฟ้าก็ไม่พ้น แต่ถ้าเป็นเจ้าแผ่นดินสมเด็จโตท่านมีความรู้ย่อมหนีพ้นจึงไม่รับยศ หนีออกนอกแผ่นดิน โดยเดินธุดงค์ไปหลายเดือนเพื่อหนียศ แต่นี่กษัตริย์เป็นยศถึงเจ้าฟ้าไม่พ้นจึงจำใจรับยศสมเด็จ และเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่นั้นมา ขณะนั้นเองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่แปลกแหวกแนวพิสดารมากมายตลกขบขันก็มีเกิดขึ้นบ่อย ๆ อาทิเช่น มีฝรั่งต่างชาติรู้ข่าวว่าท่านสมเด็จโตเก่งอัจฉริยะ จึงลองภูมิปัญญาท่านสมเด็จโตว่า "จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ตรงไหน?" ท่านสมเด็จตอบฝรั่งไปว่า "จุดศูนย์กลางของโลกนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งบนพื้นผิวโลก ไม่ว่าฉันจะไปยืน ณ ที่ใดตรงนั้นคือจุดศูนย์กลางของโลก " ฝรั่งถามว่า ท่านพิสูจน์ให้เห็นได้ไหม ? ท่านสมเด็จตอบว่า "ฉันพิสูจน์ได้แล้วท่านจะว่าอย่างไร "ฝรั่งไม่ตอบ จากนั้นสมเด็จโตก็ถือตาลปัตรมือหยิบสายสิญจน์แทนเชือก เอาสายสิญจน์ผูกที่ตาลปัตรเอาตาลปัตรปักดินแลังดึงเชือกสายสิญจน์ให้ตึง กางออก ใช้ปลายนิ้วแทนดินสอ จากนั้นก็ลากลงบนพื้นดินเป็นวงกลม ท่านสมเด็จบอกว่า วงกลมคือโลก เพราะฉะนั้นฉันยืนอยู่จุดศูนย์กลางของโลกตรงจุดที่ตาลปัตรปักดินนั้นแหละ
เมื่อเป็นเช่นนี้ฝรั่งยอมแพ้กลับไป ยังมีอีกหลายเรื่องที่ท่านสมเด็จโตย่อมรู้กาลเวลาอนาคตมีครั้งหนึ่ง หญิงจีนมาขอหวยท่านสมเด็จโต แอบมานัดกับเด็กวัดโดยแนะให้ขึ้นไปคุยกับท่านสมเด็จโตบนกุฏิให้เด็กวัดชวน พูดแล้วบีบนวดไป จากนั้นเด็กวัดก็ถามท่านสมเด็จโตว่า "ท่านตา ท่านตา หวยงวดนี้มันจะออกอะไร " เมื่อท่านสมเด็จโตได้ยินดังนั้น ท่านก็ตอบว่า ข้าตอบไม่ได้โว้ย เดี๋ยวหวยของข้าจะรอดร่อง ขณะนั้นก็บังเอิญอาเจ็คคนนี้แกแอบอยู่ใต้ถุนกุฏิแกแอบได้ยินสมเด็จโตพูด อย่างนั้นก็เปิดแน่บไปเลย

ประวัติเจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) วัดพลับ

ประวัติของ เจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) ท่านเกิดที่บ้าน ต.เกาะท่าพระ อ.บาง กอกใหญ่ จ.ธนบุรี เมื่อวันพุธที่ 16 พ.ย. 2396 ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 ตรงกับปีฉลู จ.ศ.1215 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประสูติ

เป็นบุตรของนายอ่อนและนางขลิบ เยาว์วัยได้เรียนอักขรสมัยในสำนักพระอาจารย์ทอง วัดราชสิทธาราม ตั้งแต่อายุได้ 10 ขวบ จนอายุ 13 ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรในสำนักพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) และศึกษาเล่าเรียนในสำนักนี้ตลอดมา
อายุ 21 ปี เข้าอุปสมบท มีพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านปลัดโต และพระสมุห์กลัด เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่หลายปี แต่ไม่เคยสมัครเข้าสอบไล่หรือบาลีในสนามหลวง
เมื่อแตกฉานแล้วจึงหันมาเรียนและขึ้นกรรมฐานกับพระอุปัชฌาย์ เริ่มจากวิชาธรรมกายจนถึงถอดรูปได้ เรียนอยู่นานจนพระอุปัชฌาย์เชื่อมือ และได้ชื่อว่าเชี่ยวชาญที่สุดในบรรดาศิษย์ทั้งหมด จนกระทั่งปีพ.ศ.2422 ได้เป็นพระใบฎีกาฐานานุกรมของพระสังวรานุวงษ์เถร (เมฆ)
หลังพระอุปัชฌาย์มรณภาพ ท่านก็รับหน้าที่เป็นพระอาจารย์สอนและบอกกรรมฐานพระเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป และมีโอกาสได้ออกไปรุกขมูลและถือธุดงค์บ่อยครั้ง สถานที่ที่ท่านชอบไปคือแถบพระพุทธบาทห้ารอย จ.เชียงราย ไปจน ถึงเมืองหงสาวดีและย่างกุ้ง ในประเทศพม่า
ถึงปีพ.ศ.2431 เลื่อนเป็นพระสมุห์ฐานานุกรมในพระสังวราฯ (เอี่ยม) ต่อมาในปีพ.ศ.2451 ได้รับพระราชทานเลื่อนเป็นพระราชาคณะที่ พระสังวรานุวงษ์เถร ได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจาก พระมงคลเทพมุนี (เอี่ยม) รับพระราชทานนิตยภัตเพิ่มอีกเดือนละสามตำลึงเสมอด้วยชั้นราช รุ่งขึ้นอีกปีได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เพิ่มนิตยภัตขึ้นอีกเดือนละสองบาทรวมเป็นสามตำลึงครึ่ง
เจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) เป็นพระมหาเถระที่มีพรหมวิหารสี่ครบถ้วน จึงเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาในหมู่ชนอย่างมาก เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิต มีอุบาสกอุบาสิกาและประชาชนทั่วไปมาฟังธรรมในวัดและเล่าเรียนทางวิปัสสนาธุระกันมากต่อมาก เพราะท่านมีความรู้ความสามารถจึงอบรมสั่งสอนถ่ายเทความรู้ให้จนหมดสิ้น
ทั้งนี้ ท่านเป็นพระเถระรูปสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานพัดหน้านางงาสานต่อจากเจ้าคุณเฒ่า หรือหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง ซึ่งหลังจากท่านแล้วก็ไม่มีรูปใดได้รับพระราชทานอีกเลย อาจจะเป็นเพราะไม่มีพระราชาคณะรูปใดเหมาะสม หรือเพราะวัสดุและชิ้นส่วนงาสานนี้มีราคาแพงและหาได้โดยยาก จึงไม่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นอีก
นอกจากนี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ของ พระเกจิอาจารย์สำคัญทางฝั่งธนบุรีหลายรูป เช่น หลวงปู่นาค วัดระฆัง หลวงพ่อพริ้งวัดบางปะกอก และหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น
เครื่องรางของขลังที่ถือกันว่ามีพุทธานุภาพ เข้มขลังในด้าน “ป้องกันอัคคีภัยตามเคหสถานบ้านเรือน” ก็คือเครื่องรางของขลังในรูปแบบของ “น้ำเต้า” และน้ำเต้าที่มีชื่อเสียงรู้จักกันแพร่หลายและมีประสบการณ์จนขึ้นชื่อลือชาที่สุดเห็นจะได้แก่ น้ำเต้ากันไฟของ พระสังวรานุวงษ์เถร (ชุ่ม) หรือ ท่านเจ้าคุณสังวรา (ชุ่ม) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ 16 ของวัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
พระอารามหลวงเก่าแก่แห่งหนึ่งซึ่งมีพระกรุ พระเก่ายอดนิยมที่นักสะสมพระเครื่องต่างหมายปอง และมีราคาเช่าหาที่แพงมิใช่น้อย อดีตเจ้าอาวาสที่มีชื่อเสียงก็คือ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน) เจ้าอาวาสองค์แรก
ท่านเจ้าคุณพระสังวรา (ชุ่ม) เป็นพระเถระที่เชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน และสร้างพระเครื่องที่มีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลังอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเครื่องรางอย่าง “น้ำเต้ากันไฟ” ซึ่งท่านได้วิชานี้มาขณะออกเดินธุดงค์ โดยได้ไปพบศาลาพักร้อนกลางป่าหลังหนึ่ง ซึ่งโดยรอบศาลาถูกไฟไหม้เสียหายไปทั้งหมด แต่ตัวศาลากลับไม่ได้รับความเสียหาย เป็นที่น่าอัศจรรย์ จึงเดินดูรอบๆ พบบริเวณอกไก่ มีน้ำเต้าแขวนไว้ลูกหนึ่ง
เมื่อเทออกดูพบคาถากันไฟบทหนึ่งบรรจุอยู่ภายใน ได้นำติดตัวกลับมาด้วย ภายหลังกลับไปพบว่าศาลาดังกล่าวถูกไฟป่าไหม้เสียหายแล้ว เมื่อประจักษ์ในอภินิหารดังกล่าว ท่านจึงได้สร้างน้ำเต้าบรรจุคาถาแจกจ่ายแก่ศิษยานุศิษย์ จนมีชื่อเสียงถึงทุกวันนี้
น้ำเต้าของท่านจะเลือกเอาแต่น้ำเต้าตรงตามลักษณะที่ตำราบ่งบอกไว้และแก่จัดมากๆ มาควักเอาเนื้อในและเม็ดออกให้หมดแล้ว นำมาลงอักขระเลขยันต์ และปลุกเสกตามสูตรโบราณ ที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมาจากครูบาอาจารย์ ที่เคยพบบางลูกก็มีการถักเชือกและลงรักปิดทองไว้ บางลูกก็ไม่มี ไม่เป็นที่แน่นอนเสมอไป แต่ชาววงการมักจะนิยมและเล่นหาแบบถักเชือกและลงรักมากกว่า
ส่วนขนาดนั้นก็ไม่แน่นอนเนื่องจากการสร้างน้ำเต้ากันไฟนี้ถ้าจะสร้างให้ถูกต้องตามแบบโบราณนั้นสร้างยากมาก นับตั้งแต่หาวัสดุ จนถึงขั้นตอนการปลุกเสก เป็นผลให้น้ำเต้าของท่านเจ้าคุณสังฆ วรา (ชุ่ม) นี้มีจำนวนน้อยมาก นานๆ จะพบสักลูกหนึ่ง
สำหรับ “น้ำเต้ากันไฟ” ที่นำมาเสนอนี้เป็นน้ำเต้ากันไฟขนาดใหญ่ หรือที่เรียกกันภาษาวงการว่า “ใบครู” ซึ่งอยู่ในสภาพ สมบูรณ์มาก ทองเก่าที่ปิดเก่าซีดจนจะกลายเป็นสีเดียวกับสีพื้นของน้ำเต้าอีกทั้งมีการลงอักขระเลขยันต์บนน้ำเต้า จัดได้ว่าหาดูได้ยากยิ่ง
มีเรื่องที่ท่านเล่าให้ศิษย์ฟังเรื่องหนึ่งเมื่อท่านธุดงค์ไปสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ โดยท่านกะว่าเมื่อนมัสการแล้วจะออกไปแสวงหาวิเวกนอกเมือง ด้วยพระธุดงค์สมัยก่อนไม่นิยมการอยู่ในเขตบ้านเรือนหรือในเมืองเพราะเป็นที่ไม่เหมาะแก่การเจริญภาวนา
ครั้นไปถึงแล้วปรากฏว่าเป็นเวลาเย็น พระวิหารหลวงพ่อโตปิดลั่นดาลทั้งนอกและใน แล้วด้านหน้าใส่สลักดาล ด้านหลังใส่กุญแจ ท่านก็เที่ยวเดินหาคนที่คอยดูแลพระวิหาร แต่ไม่พบ จึงตั้งใจว่าจะกราบนมัสการข้างนอก โดยนึกในใจว่า วาสนาของเราไม่มีในคราวนี้จักต้องไปที่อื่น คราวหน้าจะหาโอกาสมานมัสการใหม่ แล้วทรุดตัวลงนั่งกราบ พลันหูก็ได้ยินเสียงดาลประตูลั่นดังแกร๊กจากทางด้านหน้า และประตูพระวิหารก็แง้มออกพอมีช่องให้เข้าไปได้
ท่านจึงเดินเข้าไปผลักประตูออก แล้วเข้าไปนมัสการหลวงพ่อโตด้วยความอิ่มใจ และเดินดูจนทั่วพระอุโบสถว่าใครเปิดพระวิหารให้เข้าไป แต่ก็ไม่พบ เดินวนจนอ่อนใจจึงกราบนมัสการลาหลวงพ่อโต แล้วผลักบานประตูให้สนิทกัน พลันก็ได้ยินเสียงลั่นดาล เมื่อเอามือผลักดูก็พบว่าดาลข้างในปิดตายแล้ว ท่านว่าเทพยดานิมิตให้ได้เข้าไปนมัสการ
เจ้าคุณสังวรา(ชุ่ม) ครองวัดราชสิทธารามอยู่ 12 ปีจึงมรณภาพ เมื่อปีพ.ศ.2470 รวมอายุได้ 74 ปี ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ สิริวัฑฒโน) วัดราชบพิธฯ เสด็จเป็นประธานพระราชทานเพลิงศพด้วย นับเป็นงานที่ใหญ่โต โดยสร้างเมรุลอยบนภูเขาจำลอง มีมหรสพสมโภชถึง 3 วัน 3 คืน
ในงานมีเหรียญที่ระลึกแจก เป็นเหรียญเนื้อทองแดงรูปไข่ หูเชื่อม ซึ่งแม้จะเป็นเหรียญตาย แต่ปัจจุบันหายากมาก สนนราคาเหรียญที่สวยๆ ประมาณหมื่นบาท ที่สำคัญ ปลุกเสกโดยสุดยอดพระคณาจารย์ดังในยุคนั้น อาทิ พระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ เป็นต้น
สำหรับวัตถุมงคลที่ท่านสร้างไว้มีด้วยกันหลายอย่าง เช่น ตะกรุดสามกษัตริย์,น้ำเต้ากันไฟ,พระพิมพ์เล็บมือ หรือพิมพ์ซุ้มกอ เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา,พระพิมพ์ห้าเหลี่ยม เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา และเนื้อสำริด, พระพิมพ์สองหน้า เนื้อชินตะกั่วถ้ำชา,พระพิมพ์เนื้อเงิน และเนื้อทองฝาบาตร,พระปิดตา เนื้อตะกั่วอาบปรอท ทั้งนี้ ด้านหลังพระเนื้อตะกั่วแทบทุกพิมพ์ จะมีเหล็กจารตัวเฑาะ ขัดสมาธิ หรือลงอักขระขอมอ่านว่า “อิ กะ วิ ติ” มีตัว “นะ” อยู่ตรงกลาง ที่เรียกกันว่า ยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า
ทางด้านพุทธคุณ กล่าวขวัญกันว่า ดีเด่นทางแคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุด บรรดาเซียนพระรุ่นเก่า และนักสะสมรุ่นอาวุโสล้วนมีวัตถุมงคลของท่านพกพาติดตัวอย่างน้อยหนึ่งองค์ และเคยได้ประสบการณ์มาแล้วมากต่อมาก บางท่านก็ภาวนาพระคาถาของท่านคือ “พระโสนามะยักโข เมตทันตปริวาสะโก อะสุณิหะเตโหตะโต ชยะมังคละ” พระคาถานี้ว่ากันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก ท่านเจ้าคุณสังวราฯ(ชุ่ม) จารลงในใบลาน ใช้ป้องกันไฟ ป้องกันฟ้าผ่า กันคุณไสย อัปมงคลและสิ่งชั่วร้ายทั้งมวล

วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

วัตถุมงคลในตำนานวัดพลับ


น้ำเต้ากันไฟ 












ประวัติราชสิทธาราม ราชวรวิหาร {วัดพลับ}

วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมที่เดียวชื่อ
วัดพลับ มีมาแล้วตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตัววัดพลับเดิมนั้น
อยู่ต่อ วัดราชสิทธารามเดียวนี้ไปทางทิศตะวันตก ครั้นเมื่อสร้างวัดราช-
สิทธารามขึ้นในรัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้รวมวัดพลับเข้าไว้ในเขต
วัดราชสิทธารามด้วย ราษฎรจึงยังคงเรียกชื่อ วัดราชสิทธาราม ตาม
นามเดิมว่า วัดพลับกันทั่วไป ในบัดนี้ ประวัติราชสิทธาราม เริ่มปรากฎมี
เรื่องราวเป็นสำคัญขึ้นเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง เหตุเนื่องมาจาก
พระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนาพระอาจารย์สุก
วัดท่าหอย ริมคลองคูจามในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงมา
จำพรรษาในเขตพระนคร พระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่
พระญาณลังวรเถรเรื่องทั้งนี้เป็นด้วยพระญาณสังวรเถร ทรงวิทยาคุณ
ในทางวิปัสสนาธุระ อย่างเชี่ยวชาญสามารถเลืองชื่อลือชาเป็นที่นับถือของคนทั้งหลายในยุคนั้นเป็นอย่างยิ่งกล่าวกันว่า
ท่านทรงไว้ซึ่งพรหมวิหารธรรมอย่างแก่กล้า ถึงสามารถให้ไก่เถือนเชืองได้เหมือนไก่บ้าน มีลักษณะทำนองเดียวกับคำ
โบราณที่ยกย่องสรรเสริญพระสุวรรณสามโพธิสัตว์ ในเรื่องสุวรรณสามชาดก

ประวัติพระครูสิทธิสังวร หลวงพ่อวีระ ศิษย์ ไก่เถื่อน

  พระครูสิทธิสังวร (หลวงพ่อวีระ ศิษย์ไก่เถื่อน )
             
วิทยฐานะ น.ธ.เอก ป.ว.ช
                
วัดราชสิทธาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพ ๑๐๖๐๐ 

การศึกษาทางโลก
         พ.ศ. ๒๕๑๔ จบการศึกษา ป.ว.ช. พนิชยการราชดำเนิน ธนบุรี
การศึกษาพระปริยัติธรรม
         พ.ศ. ๒๕๒๘  จบนักธรรมเอก สำนักเรียน วัดราชสิทธาราม
การศึกษาวิปัสสนากัมมัฎฐาน
 พ.ศ.๒๕๒๖ - ๒๕๒๘ ศึกษาพระกัมมัฎฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
                                       ของ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
ปริญญากิตติศักดิ์   
           พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์
                            สาขาวิชาปรัชญา มหาวิทยารามคำแหง
เป็นอาจารย์ที่ปรึกษานักศึกษาปริญญาเอก (วิชาปรัชญา- กัมมัฏฐานมัชฌิมา)
      ชาวต่างประเทศ มี
ดร.โอลิวิเยร์ เดอ แบตง  ประเทศฝรังเศส แห่งสมาคมฝรังเศสปลายบูรพาทิศ
         ดร.แคทเธอรีน  นิวส์เวล  ประเทศอังอังกฤษ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (S.O.A.S)
         นายแพทริท วาง   นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ ชาวประเทศสิงคโปร์ 
   หน้าที่การงาน
     พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระวินยาธิการ ประจำเขต บางกอกใหญ่
     พ.ศ. ๒๕๔๐ รักษาการเจ้าคณะ ๕ คณะกัมมัฏฐาน
     พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะ ๕  คณะกัมมัฏฐาน
    พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นกรรมการดูแล สร้างหลังคาพระอุโบสถ
    พ.ศ. ๒๕๕๓ เป็นคณะกรรมการอนุรักษ์และบูรณะภาพจิตรกรรมฝาผนัง
                                            สมณศักดิ์
     พ.ศ. ๒๕๓๔  เป็น พระครูใบฎีกา ถานานุกรม ใน
         พระเทพศีลวิสุทธิ์ เจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม
  ผลงานด้านทนุบำรุงพระกัมมัฎฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

      พ.ศ. ๒๕๕๒   เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก
                              ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (ผจล.ชอ.วิ.) ในราชทินนาม ที่ “พระครูสิทธิสังวร”

                                แบบสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)
    ๑. สร้างพระรูปเหมือน หุ่นขี้ผึ้ง สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน 
    ๒. ผดุงฟื้นฟู พระกรรมฐานสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน
    ๓. จัดสร้างพิพิธภัณฑ์กรรมฐาน สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน 
     ๔.สร้างสวนปฏิบัติธรรม สมเด็จพระสังฆราช   สุก ไก่เถื่อน
     ๕.ทำโครงการ คืนป่าสู่วัดพลับ (ราชสิทธาราม)และคืนไก่ป่า สู่วัดพลับ